คู่มือการประกอบและวิธีการพัน Pickup

Posted by Sutana Pornsermluck 07/07/2013 0 Comment(s) บทความเกี่ยวกับ Pickup,

การพัน pickup จริงๆแล้วมีขั้นตอนที่ไม่ยาก แต่ในความไม่ยากนั้นนั้นแฝงไปด้วยเทคนิคต่างๆซึ่งจะทำให้เกิดเสียงที่ดี โปรดอ่านขั้นตอนแต่ละขั้นอย่างละเอียด

การประกอบ Flatwork ตัวล่างกับแม่เหล็ก

-          ให้จัดเรียงแม่เหล็กตามภาพด้านล่างโดยเรียงตามความยาวกรณีที่ต้องการสร้าง pickup แบบ Staggered Polepeices ในกรณีที่แม่เหล็ก Magnetized มาแล้ว ให้หันขั้วไปในทิศทางเดียวกันตามที่ต้องการ (ดูทิศทางการหันของแม่เหล็กจากบทความ “Spec ของ Vintage Fender Pickup”)

 

 

 

 

-          สร้าง Jig เพื่อช่วยในการประกอบ ทำไดง่ายๆโดยหาเศษไม้ แผ่นเรียบหนาประมาณ 5 mm. นำมาเจาะรูเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 mm. พยายามเจาะรูให้ได้ฉากกับหน้าไม้ ตัว Jig นี้จะช่วยประคองแม่เหล็กทำให้ได้ฉากกับ Flatwork และช่วยให้ไม่ต้องใช้มือจับเวลาตอกหรือกดแม่เหล็กเข้ากับ flatwork

-          การตอกให้เริ่มจาก วาง Flatwork ลงบนแผ่นไม้ผิวเรียบ การตอกให้ใช้ค้อนพลาสติก หรือ ค้อนทองเหลืองตอก แม่เหล็กลงไป โดยเริ่มจากตอกตัวสั้นก่อนแล้วค่อยตามด้วยตัวยาว อีกวิธีหนึ่งคือใช้แท่นสวานกดลงไป พยายามให้แม่เหล็กตั้งฉากกับ Flatwork มากที่สุด การที่แม่เหล็กไม่จะทำให้ Flatwork โก่งตอนประกอบ Flatwork ตัวบน

การประกอบ Flatwork ตัวบน

                นำไม้ 2 อัน ขัดให้ได้ความหนา 11mm. โดยต้องขัดให้เรียบเสมอกัน คั่นไว้ระหว่าง Flatwork ตามภาพ นำไม้หรือแผ่นอะคริลิกเจาะรู ใช้เป็นตัวนำในการตอก Flatwork ตามภาพ ตอก Flatwork ตัวบนให้จมลงจนชนไม้ที่คั่นไว้

 

 

 

 

 

การเลือกขนาดลวด

                โดยปกติขนาดของลวดที่ใช้กับ single coil จะเป็นเบอร์ 42 AWG แต่ในเมืองไทยเกรดลวดส่วนใหญ่จะเป็น SWG โดยเบอร์ที่เทียบได้ใกล้เคียงที่สุดคือเบอร์ 46 SWG อย่างไรก็สามารถใช้ขนาดของลวดเบอร์อื่นๆได้ เพื่อให้ได้ลักษณะเสียงที่ต้องการ โดยมีหลักที่ว่า ถ้าเบอร์มากขึ้น ให้ลดจำนวนรอบลงเล็กน้อย เพื่อให้ได้ความต้านทานเท่าเดิม ถ้าเบอร์น้อยลงให้เพิ่มจำนวนรอบเล็กน้อยเพื่อให้ได้ความต้านทานเท่าเดิม

                สำหรับแหล่งซื้อลวดจะอยู่ในบทความ แหล่งขายลวดทองแดงและเครื่องพันขดลวด

เครื่องพันลวด

                มีหลากหลายวิธ๊ที่จะพัน Pickup โดยทั่วไปแล้วอะไรที่หมุนได้และปรับความเร็วได้สามารถใช้เป็นเครื่องพัน pickup ได้หมด แต่การใช้เครื่องพันสำเร็จรูปนั้นจะง่ายกว่าและเที่ยงตรงกว่า รายละเอียดให้ดูในบทความ แหล่งขายลวดทองแดงและเครื่องพันขดลวด 

จำนวนรอบ ความตึงลวด การเรียงลวดส่งผลกระทบต่อเสียงทั้งหมด อย่าพันแน่นจนเกินไป pickup อาจโก่งได้ ถ้าพันหลวมไป pickup จะเกิด feedback ได้ง่าย

Pickup ในยุค 50 และ 60 จะพันตามเข็มนาฬิกา เมื่อมองจากด้านบนของ Pickup  ด้วยรอบประมาณ 8000 รอบ ถ้าคุณไม่มีเครื่องนับ ให้ลองหาตัวอย่าง pickup มาดูแล้วพันให้ได้ขนาดใกล้เคียง

 

 

การพันแบบ Reverse wound. Reverse Poles  มี Fender หลายรุ่นที่ผลิตมาพร้อมกับคุณสมบัตินี้ ซึ่งมันจะลดเสียงจี่เมื่อ Pickup มากกว่านึงตัวถูกต่อกัน (ตำแหน่ง 2&4) แต่อย่างไรก็ตามในช่วงยุค 50 Fender ไม่ได้ใส่ feature นี้ลงใน strat และ tele ของเขา แต่ในยุคต่อมาก็ได้มีการเพิ่มคุณสมบัตินี้ลงไป

การพัน RW/RP สำหรับ Strat ทำได้โดย พัน pickup neck และ bridge ตามเข็มนาฬิกา และ Charge แม่เหล็กให้ขั้ว S อยู่ด้านบน  สำหรับตัวกลางให้พันทวนเข็มนาฬิกาแล้ว Charge ให้ N อยู่ด้านบน

การเพิ่มลดจำนวนรอบในการพัน สามารถทำได้เพื่อให้ได้เสียงที่แตกต่าง โดยค่าเริ่มต้นที่แนะนำคือประมาณ บวก ลบ 5% การพันด้วยจำนวนรอบที่น้อยลงจะให้เสียงแหลมเพิ่มขึ้น การพันด้วยจำนวนรอบเพิ่มขึ้น เสียงจะอุ่นขึ้น และเสียงแหลมน้อยลง

การติด pickup เข้ากับเครื่องพันให้ใช้กาว 2 หน้าติด ปรับระดับของ pickup ให้อยู่ในระนาบเดียวกันกับแกนเครื่องพันอย่างให้เอียง หาลวดหรืออื่นๆ มาทำ Guide ในการป้อนลวดตามภาพด้านล่าง เซ็ตระยะห่างของ guide ให้ใกล้เคียงกับขอบของ flatwork ระยะห่างประมาณ 0.5 mm.  เริ่มต้นการพันด้วยมือ ประมาณ 10 รอบ จากนั้นจึงเริ่มเปิดเครื่อง

 

 

 

 

 

 

 

ขดลวดมีความบางมากและขาดง่าย พยายามควบคุมแรงดึงของลวดให้สม่ำเสมอ สำหรับคนที่เหงื่อออกง่าย การทาแป้งที่มือจะช่วยลดแรงดึงที่มากเกินไปในการป้อนลวด หากคุณเผลอเกิดทำลวดขาด สามารถรื้อออกมาทำใหม่ หรือบัดกรีต่อจากจุดเดิม แล้วเอาน้ำยาทาเล็บทาก็ได้

ปลายทั้ง 2 ข้างให้เหลือไว้อย่างน้อย 2 นื้วเพื่อให้สามารถใส่ในตาไก่ ดึงลวดให้แนบติดกับ flat work จากนั้นบัดกรี โดยใช้สายสีดำต่อกับจุดเริ่มต้นของลวด  สายสีขาวต่อกับจุดสุดท้ายของลวด

 

 

 

 

 

 

 

 

การทดสอบ Pickup

ใช้มัลติมิเตอร์ ตั้งค่าไปที่การวัดความต้านทาน single coil pickup โดยทั่วไปจะมีค่าระหว่าง 5.75K-6.75K หากวัดไม่ขึ้นอาจมีลวดจุดใดจุดหนึ่งขาด หรือการบัดกรีกับตาไก่ไม่แน่น

 

การ Charge Pickup

การ Charge pickup ทำได้โดยหาแม่เหล็กถาวรมาจัดเรียงตามลักษณะในภาพ ปรับให้ขั้ว N และ S ของแต่ละตัวหันเข้าหากัน ระยะห่างประมาณ 1 นิ้ว นำ Pickup มาผ่านสนามแม่เหล็กช้าๆ 2-3 รอบ ไม่จำเป็นต้องให้ pickup สัมผัสแม่เหล็ก

 

การ Pot Pickup

ให้ดูบทความเรื่องการ Pot Pickup

 

สุดท้ายเป็นคลิปการพัน Pickup ที่ดีมากๆเลยครับ ลองศึกษากันดูนะครับ

 

 

เขียน Comment