หลักการทำงานและวิธีการใช้งานแผ่น Copper Shield

Posted by Sutana Pornsermluck 14/11/2016 1 Comment(s) ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมสร้างกีต้าร์,

หลักการทำงานและวิธีการใช้งานแผ่น Copper Shield

 

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เรื่องเสียงรบกวนที่เป็นปัญหากวนใจมือกีต้าร์ไฟฟ้าทุกท่านกันครับผม

 

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Radiation)

 

ก่อนที่เราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเสียงรบกวน เราจะต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากันก่อน

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ ซึ่งคลื่นนี้จะเกิดจากการ ทำให้สนามไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง และในทางกลับกัน เมื่อสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลง ก็จะเกิดสนามไฟฟ้าเช่นเดียวกัน

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟฟ้าสลับเป็นหลักในการทำงานในบ้านเรือน ล้วนสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น หลอดไฟ พัดลม ตู้เย็น ทีวี อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีหม้อแปลงต่างๆ นอกจากนั้นยังรวมไปถึง สัญญาน วิทยุ สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณ Wifi สัญญาณ Bluetoothต่างๆ ก็ถือเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยเช่นเดียวกัน

Pick upของกีต้าร์ก็เป็นอีกหนึ่ง ตัวอย่างของการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กล่าวคือ เมื่อเราดีดลงไปบนสายกีต้าร์ ทำให้สนามแม่เหล็กใน Pickup เปลี่ยนแปลง เกิดกระแสไฟฟ้าภายในขดลวด Pickup และส่งต่อไปยังแอมป์ขยายเสียงต่อไป ซึ่งในจุดนี้เองที่ทำให้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ ที่หลุดรอดเข้ามาในตัว Pickup

ถูกขยายสัญญานไปด้วยและทำให้ได้ยินเป็นเสียงรบกวน

 

นอกจาก คลื่นแม่เหล็กที่เข้าไปสู่ตัว Pick upแล้ว ส่วนอื่นๆของวงจรเช่น สายไฟที่เดินระหว่างจุด ตัว Selector ตัว Volume ก็ยังเป็นจุดที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถแทรกเข้ามา แล้วทำให้เกิดเสียงรบกวนเช่นเดียวกัน

 

หลักการในการกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน

 

หลักในการกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ดีที่สุดคือการสร้างกล่องปิดทึบ ที่ทำด้วยโลหะนำไฟฟ้าได้ และต่อผนังกล่องนั้นลงกราวด์ตามภาพ

 

 

จากภาพเป็นการสร้างกล่องด้วยโลหะที่นำไฟฟ้า โดยแต่ละด้านของผนังเชื่อมต่อถึงกันทั้งหมด และต่อผนังลงกราวด์ 1 จุด

 

 

การป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับกีต้าร์ ในทางปฏิบัติ

 

แน่นอนว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะสร้างกล่องโลหะแล้วใส่ลงไปกีต้าร์เพื่อทำหน้าที่ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือการกรุและปิดช่องว่าภายในทั้งหมดของตัวกีต้าร์ ด้วยเทปฟลอยทองแดง

ทองแดงมีคุณสมบัติที่ดีมาก กล่าวคือ เป็นโลหะที่นำไฟฟ้าได้ดี มีความทนทานต่อการกัดกร่อน และสามารถบัดกรีได้

 

การกรุฟลอยทองแดง สำหรับกีต้าร์ที่ไฟฟ้า

การกรุฟลอยทองแดง สำหรับกีต้าร์ที่มี Pick Guard จะทำการกรุแยกออกแเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนช่องว่างในไม้ และส่วนด้านล่างของ Pick Guard  โดยการกรุฟลอยในล้กษณะ นี้ตัว Foil ทองแดง Pick Guard จะทำหน้าที่เหมือนสะพานเชื่อมต่อไปยังฟลอยทองแดงในช่วงว่างต่างๆในตัวกีต้าร์

 

เรื่มต้นด้วยการทำความสะอาดช่องว่างต่างๆในตัวกีต้าร์ใให้ปราศจากฝุ่น

เรื่มทำการติดฟลอย์โดยติดจากฐานด้านล่างสุดก่อน

จากนั้นให้ไล่ปิดบริเวณด้านข้างของช่องว่าง

ทำการพับขอบด้านบนของฟลอยให้ล้ำขึ้นมา เพื่อให้มีการเชื่อมต่อกราวด์กับตัวปิ๊คการ์ด

หมั่นเช็คการเชื่อมต่อของแผ่นฟลอยด์ทองแดงแต่ละแผ่นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยโอห์มมิเตอร์ ในบางครั้่งแผ่นฟลอย์ทองแดงที่ซ้อนกันอาจไม่เชื่อมต่กันเนื่องจากมีกาวขั้นกลาง

จากนั้นทำการตัดแผ่นฟลอยแปะในช่วงว่างอื่นๆที่เหลือให้หมด การกะระยะการตัดทำไดไ้ง่ายๆโดย กดแผ่นฟลอยกับด้านบนของข่องให้เกิดรอย จากนั้นนำไปตัดตามรอย

ทำการไล่ปิดเทปฟลอยด์จนเต็มช่วงว่างภาพในกีต้าร์

 

สิ่งที่สำคัญมากคือจะต้องมีการเผื่อติ่งทองแดงไว้อย่างน้อย1จุด เพื่อให้เป็นจุดสัมผัสกับแผ่นทองแดงใต้ปิ๊คการ์ด เพื่อทำการเชื่อมต่อฟลอย์ทั้งหมดลงกราวด์

 

สำหรับด้านหลังของ Pick Guard ปิดให้ครอบคลุมบริเวณ์ Control และบริเวณหลุม Pickup ทั้งหมดก็เพียงพอ แต่ถ้าต้องการปิดเต็มหน้าทั้งหมดก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

 

 

 

1 Comment(s)

suthas:
08/01/2017, 04:06:24 PM
Reply

ขอสอบถามข้อมูลครับ 1 guitar pu แบบ sss เป็น noiseless pu (ไม่จี่) แผ่นทองแดงผมติดเฉพาะในช่อง volume tone 5 way ได้ไหมครับ? 2 ต้องใช้แผ่นทองแดง ขนาด (กว้างxยาว) เท่าใดครับ?

เขียน Comment