ลวด Fret

Posted by Sutana Pornsermluck 12/10/2016 0 Comment(s) ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมสร้างกีต้าร์,

Fret Wire ลวดเส้นเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่

ลวด Fret เป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนที่สำคัญบนกีต้าร์ ซึ่งมือของนักกีต้าร์นั้นเกือบจะต้องสัมผัสกับ Fret ตลอดเวลาที่ทำการเล่นกีต้าร์ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ Fret และการเลือก Fret ให้เข้ากับความถนัดและแนวในการเล่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ความแข็งของ Fret ปัจจัยแรกที่จะนำมาพูดถึงคือเรื่องของ

 

ความแข็งของ Fret

การกำหนดความแข็งของ Fretโดยทั่วไปจะใช้การกำหนดตามมาตรฐานสากล ของการกำหนดความแข็งในเนื้อวัสดุ โดยใช้หลักการของ Vickers Hardness Test ซึ่งจะทำการวัดความแข็งโดยใช้การกดของหัวกด เพชรรูปปิระมิดลงในเนื้อวัสดุ จากนั้นวัดความยาวเส้นทแยงมุมของรอยกดบนเนื้อวัสดุ และนำมาคำนวณเป็นค่าความแข็งของ Vickers ตามภาพด้านล่าง

 

โดยทั่วไปการแสดงค่าความแข็งแบบ Vickers จะแสดงได้ตามตัวอย่างด้านล่าง

200HV5 หมายถึง ค่าความแข็ง 200 Vickers ที่แรงกด 5 Kgf โดยเลขค่าความแข็งยิ่งมาก หมายถึง Fret นั้นมีความแข็งมากขึ้น Fret ที่มีความแข็งมาก จะเกิดการสึกหรือได้ยากกว่า Fret ที่มีความแข็งน้อย ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนานกว่า สำหรับนักกีต้าร์บางท่าน การเล่น Fret ที่มีความแข็งสูง อาจะให้ความรู้สึกเหมือน Fret ลื่นเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Fret ที่มีขนาดสูงกว่าปกติ อาจให้ความรู้สึกเหมือนสายปลิ้นออกจาก Fret อาจต้องทดลองเล่น หรืออาจจะต้องใช้การปรับตัวเล็กน้อยก่อนที่จะเริ่มใช้ Fret ชนิดนี้

 

Fret ที่มีความแข็งสูงนั้น ในการติดตั้ง Fret และการปรับระนาบๆ ต่างๆ จะทำได้ยากกว่า Fret ที่มีความแข็งปกติ ทำให้ต้นทุนการทำงานกับ Fret ที่มีความแข็งสูงจะแพงกว่า ประมาณ 2 – 3 เท่า

เทคนิคอีกอย่างหนึ่งในการทำให้ Fret มีความแข็งมากขึ้นคือการดัด Fret และยืดออก และดัดใหม่ สองถึงสามครั้ง โดยการกระทำแบบนี้สามารถช่วยให้ Fret มีความแข็งมากขึันได้ สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางโลหะวิทยา กล่าวคือ เมื่อโลหะถูกเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยไม่ใช้ความร้อน เส้น Dislocation ในเนื้อวัสดุจะเกิดการชนกันและพันกันเอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในเนื้อวัสดุและมีความแข็งมากขึ้น

 

วัสดุที่นำมาผลิตเป็นลวด Fret

วัสดุที่นำมาผลิตเป็นลวด Fret นั้น จะเป็นโลหะซึ่งจะพบไม่กี่ประเภท แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากส่วนผสมในลวด Fret แต่ละยี่ห้อนั้น ไม่เหมือนกัน อาจทำให้มีคุณสมบัติต่างกันไปตามแต่ส่วนผสม

- Nickle Silver หรืออีกชื่อหนึ่งคือ German Silver เป็นวัสดุยอดนิยมที่สุดที่นำมาทำเป็น Fret แม้ว่าชื่อนั้นจะมีคำว่า Silver อยู่แต่ในความเป็นจริง มันไม่มี Silver ผสมอยู่เลย ส่วนประกอบหลักคือทองแดง ประมาณ 80% นิเกิล 16-18% และที่เหลือคือส่วนผสมอื่นๆ เป็น ความแข็งโดยทั่วไปอยู่ที่ระดับ 200HV5

 

- Copper Alloy เป็นวัสดุที่มีการนำมาใช้ทำเป็นลวด Fret ในยุคหลัง โดยจุดเด่นที่สุดของ ลวด Fret ชนิดนี้คือ ตัวลวดจะเป็นสีเหลืองทอง ช่วยเพิ่มความสวยงามเมื่อทำการติดตั้งบนกีต้าร์ โดยผู้นำของการใช้วัสดุตัวนี้คือ Jescar US โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า EVO Gold ค่าความแข็งเฉลี่ย อยู่ที่ 250HV5

 

- Stainless Steel เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกีต้าร์ยุคใหม่ เป็นวัสดุที่มีความแข็งมากที่สุดในกลุ่ม มีคุณสมบัติพิเศษคือทนการสึกหรอทั้งในเรื่องของการกัดกร่อนจากเคมีที่เกิดจากเหงื่อหรือสภาพแวดล้อม และในเรื่องของการเสียดสีกับสายกีต้าร์ ค่าความแข็งเฉลี่ย อยู่ที่ 300HV5

 

 

นอกจากนี้ยังมีวัสดุอื่นๆอีก เช่น ทองเหลือง ทองแดงและอื่นๆ แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก

 

ส่วนประกอบต่างๆ ของ Fret

Fret Crown เป็นส่วนยอด Fret ที่สัมผัสกับสาย และสัมผัสกับมือของเล่นอยู่ตลอดเวลา มีให้เลือกตามความกว้างและความสูงที่หลากหลาย ซึ่งผลต่อความกว้างและความสูงของ Fret Crown มีผลตามตารางด้านล่าง

 

คุณสมบัติ Fret ตาม
รูปร่าง
ความกว้าง Crown
แคบ กว้าง
ความสูง Crown สูง ให้ความรู้สึกที่สายจิก
ลงไปใน Fret ใช้แรงกดสายไม่มาก
การดันสายเป็นไปอย่างง่ายดาย
การกด Fret ทำได้ง่าย
พื้นที่ระหว่างช่อง Fret น้อยลงในช่วงท้าย
การใช้เทคนิคสไลด์สายอาจมีติดขัดบ้าง
ต่ำ เป็น Fret แบบ Vintage ให้ความรู้สึก
เหมือนกับการกดสายลงบนเนื้อไม้โดยตรง
อาจใช้แรงกดมากกว่าปกติ
การดันสายทำได้ง่าย
การกด Fret ทำดีในระดับหนึ่ง
พื้นที่ระหว่างช่อง Fret น้อยลงในช่วงท้าย
ให้ความรู้สึกสัมผัสกับเนื้อไม้

 

Fret Tang(ขา Fret ) เป็นส่วนที่ต้องถูกฝังอยู่ในเนื้อไม้ ซึ่งจะมีความกว้างโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 0.5-0.6 mm. ซึ่งการฝัง Fret จะต้องทำการตัดร่อง Fret ให้มีขนาดพอดีกับขา Fret เพื่อที่จะทำให้ขา Fret ยึดเกาะกับ Fingerboard ได้ดี

 

การบอกขนาดของ Fret 

โดยทั่วไป การบอกขนาดของ Fret ที่ดีที่สุด คือการบอกขนาดด้วยขนาดจริง ของ Fret Crown นั่นคือการบอกความกว้าง และความสูง ซึ่งในบางครั้งรวมไปถึงรัศมีด้วย  

แต่อย่างไรก็ตามมีการบอกขนาดของ Fret อีกประหนึ่งที่ได้รับความนิยม เนื่องจาก สามารถนึกภาพตามได้ง่ายและเข้าใจได้มากกว่าในทางปฏิบัติคือการบอกขนาดของ Fret เป็น Small Medium Jumbo หรือ Narrow Mediumm Wide 

การบอกลักษณะนี้เป็นการบอกขนาดของ Fret แบบคร่าวๆเท่านั้น และไม่มีมาตรฐานชัดเจนว่า เช่น Fret ขนาด Small จะมีขนาดเท่าไหร่ 

 

หลักเกณฑ์ทั่วๆไปในการแบ่งลักษณะ Fret เป็นไปตามด้านล่าง

Wide or Jumbo ความกว้าง 2.5 - 2.8 mm.  

Medium           ความกว้าง 1.8 - 2.15  mm.  

Small or Narrow  ความกว้าง 1.8 - 2.15  mm.  

 

มีการบอกขนาด Fret อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับ ความนิยม คือ การบอกขนาดโดยการเทียบเบอร์กับ Fret ของบริษัท Dunlop  โดยจะบอกเป็นรหัส 4 ตัวเช่น 6150 ,6100 เป็นต้น

 

ป้ายกำกับ: Fret-Wire

เขียน Comment