การเลือกหลอดสุญญากาศให้เหมาะกับวงจรของแอมป์

Posted by Sutana Pornsermluck 25/08/2014 0 Comment(s) บทความเกี่ยวกับหลอดสุญญากาศ,

การเลือกหลอดให้เหมาะสมกับวงจร นอกจากจะช่วยทำให้อายุการใช้งานของหลอดยืนยาวขึ้นแล้ว ยังช่วยทำให้เสียง Noise โดยรวมของแอมป์ลดลง ช่วยทำให้เสียงของแอมป์เป็นไปตามที่เราต้องการมากยิ่งขึ้นด้วย

 

เราจะเริ่มวิเคราะห์ โดยใช้วงจรของแอมป์คลาสสิคตลอดกาลอย่าง JCM800 กันครับ






 

จากวงจรด้านบนเราจะพบว่ามีหลอด 12AX7 อยู่ 3 หลอด (6 sections) และหลอด Power อยู่ 2 หลอด เราจะมาเริ่มวิเคราะห์จากซ้ายไปขวา

 

หลอด V1a,b เป็นหลอดที่รับสัญญาณจากกีต้าร์โดยตรง หน้าที่ของหลอดนี้คือ ขยายสัญญาณจาก Pickup กีต้าร์ให้แรงพอที่จะให้ Stage ถัดไปนำไปขยายสัญญาณต่อ ดังนั้นหลอดในตำแหน่งนี้ควรจะเป็นหลอดที่มี Noise ต่ำที่สุด ในเครื่องของ Gain เป็นเรื่องรองลงมาที่จะพิจารณา

 

หลอด V2a,b  เป็นหลอดที่จะกำหนด Character ของแอมป์ตัวนี้ ซึ่งตัวแปรหลักจะเป็นเรื่องของ Gain หากต้องการแอมป์ที่เสียงแตกมาก แตกละเอียด ให้เลือกหลอดที่มี Gain สูงกว่าปกติ (มากกว่า 110) หากต้องการเสียงแตกแบบกลมหนาๆ ไม่แตกมาก ให้เลือกหลอดที่มี Gain ต่ำลงมา ( น้อยกว่า 100)

 

หลอดที่ V3 เป็นหลอดในภาค Phase Splitter หลอดนี้ทำหน้าที่แยกสัญญาณซีกบวก และ ซีกลบเพื่อส่งต่อให้หลอดเพาเวอร์ ขยายสัญญาณ เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด หลอดนี้ควรใช้หลอดที่มีลักษณะเป็น Matched Section เพื่อให้การขยายสัญญาณซีกบวก และลบ เป็นไปอย่างสมมาตร และให้ Headroom ที่มากที่สุด

 

แต่อย่างไรก็ตามมีนักกีต้าร์หลายคน ชอบใช้หลอดนี้ในลักษณะที่ไม่ Matched เนื่องจากการใช้หลอดแบบไม่ Matched จะก่อให้เกิด 2nd Harmonic ที่มาขึ้น ส่งผลให้เกิดเสียงที่เป็นลักษณะเฉพาะ

 

หลอดเพาเวอร์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้หลอดที่เป็น Matched Pair ในตำแหน่งนี้ หากใช้หลอดที่ไม่ Matched กันอาจเกิดผลดังนี้

    - อายุการใช้งานของหลอดหนึ่งจะสั้นกว่าอีกหลอดนึงมาก

    - เกิดเสียง Hum มากและตลอดเวลา เนื่องจากไม่มีการ Cancel คลื่นรบกวนในหม้อแปลงไฟฟ้า

    - Headroom ของแอมป์ลดลง


หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านเลือกหลอดให้เหมาะสมกับวงจรของท่านได้อย่างถูกต้อง

เขียน Comment